เรื่อง ฝันถึงพลายบุญมา
เรื่อง ฝันถึงพลายบุญมา
ในจังหวัดสุรินทร์มีการเลี้ยงช้างอยู่กระจัดกระจายออกไปในหลายอำเภอ แต่ที่ทำชื่อเสียงให้จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักของขาวโลกมากที่สุดก็ได้แก่”หมู่บ้านช้าง” ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ หมู่บ้านช้างมีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ดังนั้นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่เรียงรายไปตามฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งแต่ละครอบครัวจะมีช้างเป็นสัตว์เลี้ยงไว้ใช้งานอยู่คู่บ้านมาช้านาน
บุหงาอยู่บ้านขวาวโค้ง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งอยู่กันคนละฝั่งกับหมู่บ้านช้าง หมู่บ้านของบุหงาจะอยู่ฝั่งทางทิศเหนือ ส่วนหมู่บ้านช้างจะอยู่ฝั่งทางทิศใต้ของแม่น้ำมูล ดังนั้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำมูลจึงเหมาะกับการเลี้ยงกับการเลี้ยงช้าง ซึ่งชาวบ้านได้อาศัยแรงงานช้างช่วยทำงานได้สารพัด เช่นทำสวน ทำไร่ ชักลาก ลากซุง บรรทุกสิ่งของและทำนาก็ได้ นอกจากนั้นยังใช้ช้างเป็นพาหนะ ร่วมขบวนแห่ประเพณีต่าง ๆ ในชุมชนนั้น เช่นงานแห่นาค หรืองานฉลองต่าง ๆ อีกด้วย
ปู่และพ่อของบุหงาก็มีช้างที่ได้เลี้ยงสืบทอดกันมาช้านาน พ่อบอกว่าเจ้าพลายบุญมาเป็นลูกของช้างค่อม ซึ่งปู่เคยเลี้ยงมาก่อนหน้านี้ บุหงาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเจ้าพลายบุญมามีอายุเท่าไร เพราะตั้งแต่บุหงาเกิดมาก็เห็นพลายบุญมาจนถึงบัดนี้ พ่อสอนให้บุหงาเรียกชื่อพลายบุญมา และหัดพูดออกคำสั่งให้พลายบุญมายกขาหน้า คุกเข่าบ้าง เก็บของบ้างแล้วแต่โอกาสจนบุหงาและพลายบุญมาคุ้นเคยกัน บุหงารักพลายบุญมามากพอ ๆ กับความใหญ่โตของมันเลยทีเดียว บางครั้งหลังจากที่เลิกใช้งานพลายบุญมาแล้ว พ่อจะพาบุหงาขึ้นขี่คอพลายบุญมาเดินเล่นรอบ ๆ หมู่บ้านเป็นที่สนุกสนานหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ จนทำให้บุหงาคิดว่าพลายบุญมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปเสียแล้ว ก่อนสว่างทุก ๆ วันพลายบุญมาใช้ลำตัวของมันถูกับเสาเรือน เหมือนจะคอยเตือนพวกเราว่าสว่างแล้ว ให้รีบพากันตื่นไปทำงานกันตามหน้าที่ของตนได้แล้ว และก็เหมือนจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ทุกคนจะตื่นแต่เช้ามืด พ่อจะปล่อยพลายบุญมาออกจากที่ล่ามโซ่ แล้วขี่คอพลายบุญมาออกไปกินน้ำที่ฝั่งแม่น้ำมูล ก่อนที่จะพาพลายบุญมาไปทำงานรับจ้างในงานไร่ในสวนเพื่อนบ้านใกล้เคียง ซึ่งก็เป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่มาจุนเจือครอบครัวของเรามิได้ขาด แม่และน้องช่วยกันจัดของ ขนของขึ้นรถซึ่งประดิษฐ์จากรถมอเตอร์ไซด์กับรถเข็น กลายเป็นรถสามล้อเร่ขายของไปตามหมู่บ้าน
ส่วนบุหงาจะทำหน้าที่หุงข้าว ทำกับข้าวไว้รอพ่อกับแม่และน้อง ๆ ซึ่งเมื่อกลับมาจากขายของ จะได้กินกันทุกคนในครอบครัวของบุหงาจะปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตรตลอดมา จะไม่มีใครเกี่ยงงานทุก ๆ คนจะช่วยกันทำงานตามหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบจนงานสำเร็จ บุหงานึกถึงบทเรียนภาษาไทยบทที่ ๔ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ คุณครูสอนเรื่องอยู่กันอย่างไรให้เป็นสุข คุณครูต้องการปลูกฝั่งและฝึกหัดให้นักเรียนทุกคนเป็นคนดี ช่วยเหลือพ่อ แม่ รู้จักการทำงานมีความรับผิดชอบ ทำงานตามหน้าที่ของตนเองให้สำเร็จแล้วรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง ไม่เป็นคนเกียจคร้านหรือเกี่ยงงาน ซึ่งจะทำให้ครอบครัว
ชุมชน หรือสังคมนั้นอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
ตกเย็นวันหนึ่งปู่มาที่บ้านของพ่อแล้วแจ้งให้ทราบว่า ทางชมรมผู้เลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ ให้ผู้ที่เลี้ยงช้างนำช้างของตนเองไปร่วมคัดเลือก เพื่อเข้าแสดงในงานช้างซึ่งเป็นงานประจำปีของชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่จะจัดขึ้นกลางเดือน
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ มีการแสดงของช้างให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้ชมกันในครั้งนี้จะมีการบันทึกในหนังสือระดับโลกด้วย ซึ่งจัดยิ่งใหญ่กว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา ปู่บอกว่าปีนี้ที่หมู่บ้านของเราน่าจะมีช้างที่ได้ไปแสดงในงานกันหลายเชือก ปู่พูดต่อไปอีกว่า พลายบุญมากำลังหนุ่มพอดี มีท่าทางสง่างาม มีไหวพริบว่องไวกว่าช้างตัวอื่น ๆ ที่ปู่เคยเห็น บุหงาบอกกับพ่อว่าปีนี้อยากไปดูช้างแสดงด้วย แม่และน้อง ๆ ก็สนับสนุนอีกแรงหนึ่ง พ่อไม่พูดอะไรเพียงพยักหน้ารับรู้เท่านั้น
ทั้งปู่และพ่อก็ยิ้มด้วยความมั่นใจกับพลายบุมา หากมันรู้และเข้าใจภาษาคนที่ปู่กับพ่อคุยกันอยู่บนเรือน มันคงภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง บุหงาชะเง้อหน้าไปมองข้าง ๆ บ้านเห็นมันยืนหลับตา สะบัดใบหูอันใหญ่ทั้งสองข้างไล่ยุงอยู่ไปมา บุหงาหันกลับมาก็เห็นปู่ลงจากเรือนไปเสียแล้ว พอถึงเดือนพฤศจิกายน หมู่บ้านขวาวโค้งของเราเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเร็วกว่าปกติ ปู่กับพ่อนั้นแล้วเสร็จก่อนใคร ๆ เพราะรู้ดีว่าปีนี้ต้องนำพลายบุญมาและช้างตัวอื่น ๆ ไปร่วมพิธีต้อนรับช้างทั่วสารทิศในเขตจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งทางจังหวัดจะจัดโต๊ะอาหารเลี้ยงช้าง โดยการนำอาหาร ประเภทพืชผักผลไม้นานาชนิด มาจัดตกแต่งอย่างสวยงาม ผลไม้บางชนิดถูกแกะสลักเป็นลวดลายด้วยความประณีต ดูสวยงามจับใจมีการประกวดการจัดโต๊ะอาหารเลี้ยงช้างในครั้งนี้ด้วยพืชผัก ผลไม้ ได้รับการตั้งชื่อใหม่อย่างไพเราะ คล้องจองกัน เช่นแตงกวา ซึ่งในงานเลี้ยงช้างเขาจะเรียกว่า เขียวละออ ส่วนแตงโมจะเรียกกันว่า แดงเนื้อใน แม้แต้กล้วยน้ำหว้า ก็เรียนว่า เจ้าเนื้อนวล รวมทั้งอ้อยที่ช้างชอบกินก็เรียกว่า ข้อล่ำซำ เป็นต้น ทั้งอาหารอื่น ๆ อีกมากมายเลี้ยงช้างทุกตัวอย่างอิ่มหนำสำราญโดนทั่วกัน พ่อล่ามพลายบุญมาไว้ด้วยโซ่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งกลางทุ่งนา อยู่ถัดไปก็จะเห็นช้างตัวอื่น ๆ ที่ชาวบ้านนำมาล่ามไว้ให้กินใบไม้และตอซังที่ชาวนาเกี่ยวข้าวไปแล้ว เรียงรายกันเต็มไปหมด บุหงามองออกไปนอกหน้าต่างของโรงเรียนก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พลายบุญมาของบุหงาดูสง่างาม มีงาทั้งสองข้างยาวเหมือนมีดดาบ ใบหูกว้างใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ มีงวงที่อวบอิ่มและแผงหางดกดำเส้นยาวเป็นพิเศษ บุหงาไม่ลืมที่พ่อสั่งไว้ว่า พักเที่ยงให้บุหงาไปเปลี่ยนที่ล่ามเจ้าพลายบุญมาด้วย ส่วนพ่อจะเข้าไปแจ้งกับทางอำเภอพร้อมกับเพื่อนบ้าน เรื่องการที่จะนำช้างไปร่วมงานที่จังหวัดสุรินทร์
ภาพที่เห็นเป็นปกติหลังฤดูเกี่ยวคือนักเรียนโรงเรียนบ้านขวาวโค้งหลายคนพากันวิ่งไปหาช้างของตนเอง และสามารถออกคำสั่งให้ช้างเดินหน้า ถอยหลังหรือทำตามคำสั่งต่าง ๆ ได้ ถ้าเป็นนักเรียนชายก็จะสามารถขึ้นขี่คอช้างได้อีกด้วย บุหงาเปลี่ยนที่ล่ามให้พลายบุญมาไปกินใบไม้ต้นอื่นที่อยู่ถัดไปไม่ไกลนัก บุหงาพูดกับพลายบุญมาว่า พรุ่งนี้แล้วซินะจะได้ไปแสดงในงานช้างที่จังหวัดสุรินทร์กับแม่และน้อง ๆ จะไปเป็นกำลังใจให้เจ้าด้วยจ๊ะ
บุหงานึกถึงหน้าที่อันสำคัญและน่าภาคภูมิใจกว่าใครของพลายบุญมาที่จะได้ไปร่วมงานแสดงงานประจำปี ให้ชาวต่างชาติที่มาจากทั่วโลกได้เห็น บุหงานึกชื่นชมเจ้าพลายบุญมาของเขาเป็นอย่างยิ่งที่ได้ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติครั้งนี้ ช่างยิ่งใหญ่สมกับตัวของมันจริง ๆ ยิ่งคิดก็ยิ่งทำให้บุหงาเปรียบเทียบพลายบุญมาซึ่งเป็นเพียงสัตว์เท่านั้น ยังจับมาสอนได้จนรู้จักเชื่อฟัง เจ้าของไม่เลือกนาย ไม่เลือกงาน คอยรับใช้และช่วยเหลือครอบครัวของบุหงาโดยตลอด แม้แต่เงินทุนที่บุหงาและน้อง ๆ ที่ใช้เรียนต่อ ส่วนหนึ่งก็มาจากแรงงานและค่าตัวของพลายบุญมา ที่เขาจ้างให้มาแสดงในงานช้างนั่นเอง
พวกเราเป็นนักเรียนและที่สำคัญเราเป็นมนุษย์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าพลายบุญมาก็ควรจะรู้หน้าที่ของตนเอง ตั้งใจทำหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร ไม่เป็นคนเกียจคร้าน รักการทำงานและอาสางาน ช่วยเหลือครอบครัว ช่วยเหลือโรงเรียนจะได้ชื่อว่า เป็นการช่วยเหลือประเทศชาติบ้านเมืองในที่สุด แล้ววันนั้นก็มาถึง แม่บอกบุหงาให้เตรียมกระเป๋าและของใช้เท่าที่จำเป็นตั้งแต่เช้า รถกระบะที่ปู่กับพ่อร่วมกันกับเจ้าของช้างตัวอื่น ๆ เช่าเหมาเอาไว้ติดเครื่องรออยู่แล้ว บุหงาและน้อง ๆ รู้สึกตื่นเต้นดีใจมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่จะได้ไปเห็นเมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดของตนเอง บุหงาเคยได้อ่านและท่องคำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ที่คุณครูสอนไว้ว่า “สรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” ซึ่งวันนี้บุหงาจะได้เห็นจังหวัดสุรินทร์จริง ๆ เสียที่ บุหงาจินตนาการไปต่าง ๆ นานา ไม่รู้สึกหิวอะไรเลย ธงชาติ ธงสี ไฟประดับประดา ป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เห็นอยู่เรียงรายตลอดแนวสองข้างทางไปจนถึงบริเวณจัดงาน ณ.บริเวณสนามกีฬากลางประจำจังหวัดสุรินทร์ มีร้านค้า ร้านขายของกินของใช้ ชิงช้า ม้าหมุน เครื่องเด็กมากมาย นอกจากนี้ยังมีร้านแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของทุก ๆ อำเภอมารวมกัน เป็นที่ตื่นตาตื่นใจซึ่งแต่ละอำเภอจัดไว้อย่างสวยงาม บุหงาและน้อง ๆ ต่างชี้ชวนให้กันดูแล้วหันมายิ้มให้กันอย่างเป็นสุข แม่จูงมือบุหงากับน้องแล้วบอกว่า “อย่ามัวเพลินอยู่เลย รีบไปดูพลายบุญมาแสดงในงานจะดีกว่า” บุหงามองแต่ไกลเห็นขบวนช้างมากมาย นั่นต้องเป็นขบวนช้างศึกตัวที่เดินนำหน้า บุหงาจำได้พลายบุญมานั่นเอง ประดับประดาไว้อย่างสมจริงเหมือนช้างศึกในพระบาทสมเด็จพระเจ้านเรศวรมหาราช ที่บุหงาเคยเห็นในหนังสือเรียนไม่มีผิด เมื่อขบวนผ่านมาใกล้ ๆ บุหงาและน้อง ๆ ปรบมือพร้อม ๆ กับผู้ชมเสียงดังกึกก้อง ไม่รู้ว่าพลายบุญมากับพ่อจะได้ยินหรือเปล่า ในช่วงบ่ายเป็นการแสดงช้างแสนรู้ ช้างชักคะเย่อ ช้างวิ่งเก็บของ ช้างสวัสดี ช้างเต้นรำ ช้างวิ่งเปียว ช้างเดินข้ามคนและช้างเตะฟุตบอล พลายบุญมาแสดงได้อย่างคล่องแคล่วเป็นที่ถูกใจของผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง บุหงาแอบยิ้มด้วยความภาคภูมิใจ สมแล้วที่ปู่กับพ่อได้ฝึกฝนมาเป็นแรมปี
การแสดงชุดสุดท้ายเป็นการแสดงการอำลาท่านผู้ชมในงาน เป็นที่ประทับใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก เสมือนหนึ่งว่าบรรดาช้างและเจ้าของช้างฝากความคิดถึงทุก ๆ คน ปีหน้าฟ้าใหม่หวังว่าคงได้มาพบกันอีก บรรยากาศในขณะนั้นทั้งผู้ชมและช้างต่างก็มีความรัก ความผูกพันต่อกันและกัน แต่ก็ต้องจากกันไปในที่สุดของการแสดงนั่นเอง
บุหงารู้สึกภาคภูมิใจและปลาบปลื้มใจเป็นที่สุด ที่ได้เกิดมาเป็นคนสุรินทร์ พลายบุญมาก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุรินทร์ และประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวโลกด้วยเช่นกัน
เสร็จจากงานช้างครอบครัวของบุหงา ก็ดำเนินชีวิตเหมือนเช่นเคยย่างเข้าหน้าแล้งแล้ว ปู่กับพ่อปรึกษากันว่าจะต้องพาพลายบุญมาไปรับจ้างหาเงินที่กรุงเทพฯ หากยังอยู่กันอย่างนี้คงไม่มีอะไรจะกินและใช้จ่ายภายในครอบครัว ทั้งคนทั้งช้างอาจจะอดตายในหน้าแล้งที่จะมาถึงก็เป็นได้ ปู่บอกว่าเพื่อนบ้านเราหลายคนพาช้างไปเดินตามถนนต่าง ๆ ที่กรุงเทพ ฯ ให้นักท่องเที่ยวหรือคนในเมืองช่วยซื้ออ้อย แตงกวา และแตงโมจากเจ้าของช้างให้ช้างกิน ได้เงินมาสร้างบ้านหลังใหม่กันก็มี บุหงาอดสงสารไม่ได้ ทำไมต้องเป็นอย่างนั้นด้วย ปู่พูดต่อไปว่า สมัยที่ปู่เลี้ยงช้างนั้นสองฝั่งแม่น้ำมูลเต็มไปด้วยป่าไม้เขียวขจี มีต้นไผ่ขึ้นแน่นขนัด ทั้งใบไผ่และหน่อไม้เป็นอาหารที่ช้างชอบมากที่สุด ช้างจะหากินเองทั้งวัน เวลามันร้อนและหิวน้ำ มันก็จะลงไปกินน้ำในแม่น้ำมูล ตกตอนเย็นเจ้าของช้างจึงจะนำช้างกลับมาล่ามโซ่ไว้ที่บ้าน หลายสิบปีผ่านไปป่าไม้สองฟากฝั่งแม่น้ำมูลถูกพวกนายทุนบุกรุกถากถางทำไร่ ทำสวนและมีกลุ่มคนย้ายถิ่นฐานมาอยู่อาศัยกันมากขึ้น ทำให้ป่าไผ่ หน่อไม่ที่เคยอุดมสมบูรณ์หมดไปในที่สุด เป็นสาเหตุให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของช้างและคนเลี้ยงช้างเปลี่ยนไป เมื่อช้างไม่มีอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คนเลี้ยงช้างจึงต้องนำช้างออกเร่หาเงินตามเมืองใหญ่ ๆ เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิตทั้งคนและช้างกันต่อไป
บุหงานึกสงสารพลายบุญมาที่ต้องจากบ้านจากแม่น้ำมูล จากทุ่งหญ้า ท้องฟ้าที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพราะความเห็นแก่ได้และเห็นแก่ตัวของมนุษญย์นั่นเองที่ไม่เห็นความสำคัญของป่าไม้ จึงไม่ช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นของส่วนรวมจนเป็นต้นเหตุให้ครอบครัวของบุหงาและพลายบุญมา ต้องพบกับปัญหาจนเท่าทุกวันนี้
หลายเดือนแล้วที่พลายบุญมาและพ่อจากบ้านไปหาเงินที่กรุงเทพฯ บุหงานึกถึงภาพของพลายบุญมากับพ่อ ที่ต้องเดินป่าเปลวแดดบนถนนคอนกรีตแล้วตระเวนไปในย่านชุมชนต่าง ๆ บุหงารู้ว่าอากาศในกรุงเทพ ฯ โดยเฉพาะปลายเดือนเมษายนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากที่สุด
พลายบุญมาต้องเดินเท้าเปล่าทั้งวัน มันคงร้อนและทรมานเป็นที่สุด บุหงานอนคิดพ่อกับพลายบุญมาทุกคืน ก่อนสว่างบุหงาไม่ได้ยินเสียงพลายบุญมาถูเสาเรือนมานานแล้ว บุหงาได้แต่ถามแม่ว่า ตำรวจจะจับพ่อกับพลายบุญมาหรือเปล่า เพราะคุณครูเล่าให้ฟังเสมอว่า ปัจจุบันนี้ทางตำรวจห้าไม่ให้นำช้างไปเดินเร่หาเงิน หรือเกะกะอยู่บนท้องถนนเด็ดขาด โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ ๆ อย่างกรุงเทพฯ เพราะกีดขวางทางจราจรและเป็นการทรมานสัตว์ด้วย ควรให้ช้างเหล่านั้นได้ไปอยู่และหากินตามธรรมชาติ หากพบที่ใดเขาจะจับทั้งคนและช้างให้กลับเดิม บุหงาดีใจที่พลายบุญมาจะได้กลับบ้านเสียที แต่ก็รู้สึกเสียใจและสงสารพ่อเช่นกัน
บ่ายวันหนึ่งบุหงามองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นก้อนเมฆลอยต่ำสีดำ ก้อนหนึ่งช่างดูคล้าย ๆ กับพลายบุญมา สักครู่ลมร้อน ๆ ก็พัดเอาก้อนเมฆที่เป็นรูปช้างก้อนนั้น กระจายหายไปในอากาศ
บุหงาได้ยินเสียงรถวิ่งมาหยุดตรงกลางสี่แยกของหมู่บ้าน เสียงคนพูดกันดังโวกเวก ทักทายกันด้วยความดีใจ บุหงาหันไปดู จำได้ว่าเป็นรถขนช้างประจำหมู่บ้าน บุหงาดีใจมากไม่นึกว่าพ่อจะกลับมาในวันนี้ บุหงาตะโกนเรียกพ่อด้วยความดีใจแล้วรีบวิ่งไปหาพ่อทันที พ่อมองบุหงาด้วยสีหน้าแปลก ๆ จนบุหงาอดสงสัยไม่ได้ บุหงามองไปยังท้ายรถคันนั้นก็ไม่เห็นมีช้างสักตัว บุหงาจึงหันไปถามพ่อว่า”พลายบุญมาไม่ได้กลับมาพร้อมกับพ่อหรือคะ” พ่อลูบหัวบุหงาเบา ๆ แล้วพูดด้วยสีหน้าเศร้าสร้อยว่า “เจ้าพลายบุญมาตายแล้ว” พ่อเล่าว่าพลายบุญมาเดินไปตกท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ ขาหน้าได้รับบาดเจ็บจนเป็นแผลอักเสบอย่างรุนแรง หมอบอกว่าเป็นบาดทะยัก หลังจากนั้นก็ไม่สามารถเดินไปไหนได้ พลายบุญมาไม่ยอมกินอะไรเลย ผอมโซจนยืนไม่ไหว ในที่สุดก็ขาดใจตาย น้ำตาของบุหงาไหลลงอาบแก้มทั้งสองข้างอย่างไม่รู้ตัว หัวใจตีบตันไปหมด อยากให้เสียงร้องของบุหงาดังก้องไปกับลำน้ำมูล บอกให้พลายบุญมากลับมาอยู่ด้วยกัน มาทำหน้าที่ช้างแสนรู้เหมือนเมื่อก่อน ฉันและน้อง ๆ ยังเรียนไม่จบ อีกทั้งงานช้างจังหวัดสุรินทร์ก็ยังรอเจ้าอยู่ พลายบุญมาเจ้าไปอยู่ที่ไหน กลับมาเถิดเจ้ายังตายไม่ได้ บุหงารำพึง
ต่อไปนี้หมู่บ้านขวาวโค้งจะไม่เห็นพลายบุญมาอีกแล้ว บุหงาทรุดตัวนั่งร้องไห้โฮจนสุดเสียง ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง
แบบคำถามท้ายเรื่อง
คำชี้แจง สำหรับนักเรียนฝึกตอบคำถามหลังจากอ่านจบเรื่องแล้ว
๑. พลายบุญมา หมายถึงใคร
๒. ครอบครัวของบุหงา ใช้แรงงานจากสัตว์ชนิดใด
๓. งานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ คืออะไร
๔. คำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ ว่าอย่างไร
๕. นักเรียนบอกประโยชน์ของช้างมา ๕ อย่าง
๖. พลายบุญมามีความสำคัญต่อครอบครัวของบุหงาอย่างไร
๗. ทำไมพ่อจึงต้องงพาพลายบุญมาไปกรุงเทพฯ
๘. เพราะเหตุใดพลายบุญมา จึงไม่ได้กลับบ้านพร้อมกับพ่อ
๙. บุหงารู้สึกอย่างไรกับพลายบุญมา
๑๐. นักเรียนอ่านเรื่องนี้แล้ว ได้ข้อคิดจากเรื่องอย่างไร
********************************************
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550
พ่อของฉัน
หนังสือส่งเสริมการอ่าน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เรื่อง “พ่อของฉัน”
คุณครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ประกาศหน้าเสาธงทางเครื่องขยายเสียงว่า “สัปดาห์นี้โรงเรียนจะจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาไทย การประกวดเขียนเรียงความและตอบปัญหาเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งขาติ” พร้อมมีรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศด้วย
คุณครูเปิดโอกาสให้นักเรียนทุก ๆ คน ได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่โดยไม่จำกัดเนื้อหาสาระ เพื่อให้นักเรียนได้คิดและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองให้มากที่สุด สาเป็นนักเรียนคนหนึ่งในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ สาคิดถึงพ่อจึงตัดสินใจเขียนเรียงความเกี่ยวกับพ่อเข้าประกวดในครั้งนี้ด้วย สาขึ้นไปอ่านเรียงความให้คุณครูและเพื่อน ๆ ฟังในห้องประชุมของโรงเรียนด้วยเสียงดังชัดเจนว่า “ฤดูหนาวของเดือนธันวาคมลมหนาวพัดโชยมาทั้งกลางวันและกลางคืนหนาวเย็นจับใจ เหมือนลงไปแช่อยู่ในน้ำแข็งอย่างนั้นแหละ ครอบครัวของฉันก็ไม่ต่างจากครอบครัวอื่น ๆ ในหมู่บ้านขวาวโค้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่ยากจนหาเช้ากินค่ำ ขาดแคลนไปทุกอย่างและไม่รู้ว่าจะทนหนาวไปได้อีกนานเท่าไหร่ ฉันอาศัยอยู่กับแม่ตั้งแต่เล็ก ๆ จนถึงวันนี้ ฉันโตเข้าโรงเรียนแล้วและกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง ฉันยังมีน้องเล็ก ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าโรงเรียนอีกสองคน ฉันเป็นพี่คนโตจึงต้องทำงานทุกอย่าง เพื่อช่วยแม่หารายได้อีกแรงหนึ่ง ฉันยังจำได้ว่าพ่อจากบ้านไป ทิ้งให้ฉันกับแม่และน้อง ๆ ต้องเผชิญชีวิตอย่างลำเค็ญ
ฉันเคยถามแม่ว่า”พ่อไปไหน แล้วจะกลับมาเมื่อไหร่” แม่กอดฉันแล้วพูดปลอบว่า”พ่อของลูกมีคดีติดตัวถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำในจังหวัด อีกไม่นานพ่อคงจะพ้นโทษและกลับมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาพ่อแม่ลูก” ฉันถามแม่ต่อไปว่า”นานอีกกี่ปีพ่อจึงจะพ้นโทษ แล้วพ่อเป็นอะไรจึงถูกจับไปขังอยู่ในเรือนจำ”
แม่ลูบศีรษะเบา ๆ ด้วยความสงสารและเข้าใจในความรู้สึกของฉัน แม่บอกว่า”พ่อทำร้ายร่างกานผู้อื่นโดยไม่เจตนา แม่เองก็ไม่รู้รายละเอียดมากนักและก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพ่อจะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำนานกี่ปี นี่ก็หลายเดือนแล้วไม่มีข่าวคราวจากพ่อเลย”
ฉันมองน้องทั้งสองคนซึ่งนอนหนาวอยู่ข้าง ๆ แม่เอาผ้าห่มที่มีอยู่แค่สองผืนเท่านั้นออกมา แม่กับฉันใช้ผืนเก่าสีซีดและบางเต็มที เวลาลมหนาวพัดมาดูเหมือนว่าไม่ได้ห่มผ้าเอาเสียเลย มันรู้สึกหนาวสะท้านไปทั้งตัว แม่หยิบผ้าห่มอีกผืนหนึ่งซึ่งค่อนข้างหนาและใหม่กว่าห่มให้น้องทั้งสองคนแล้วหันมาพูดกับฉันเบา ๆ ว่า”นอนเถอะลูกดึกมากแล้ว วันพรุ่งนี้ต้องไปโรงเรียน”
เสียงลมพัดหลังคาบ้านที่มุ่งด้วยหญ้าคาเก่า ๆ ซึ่งจวนจะหลุดเต็มทีเสียงดังหวือ ๆ เป็นระยะ ๆ ฉันนอนฟังเสียงลมกระทบหลังคาบ้าน คิดถึงเหตุการณ์ที่แม่เล่าให้ฟัง ทำให้คิดถึงพ่อและสงสารพ่อมากยิ่งขึ้น อยากให้พ่อกลับมาอยู่กับฉันเร็ว ๆ คงจะทำให้ครอบครัวอบอุ่นมากกว่านี้
ฉันพลิกกายหันไปกอดแม่ ซึ่งเป็นทางเดียวที่พอจะคลายหนาวลงไปได้บ้างจนเผลอหลับไปเมื่อไหร่ฉันก็ไม่รู้ตัวเหมือนกัน
เช้าวันนี้ลมหนาวยังพัดมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา ฉันมองออกไปนอกบ้าน เห็นหมอกสีขาวลอยต่ำติดยอดหญ้า ซึ่งมีน้ำค้างจับใบหญ้าอยู่ทั่วไปยิ่งเพิ่มความรู้สึกให้ฉันหหนาวเหน็บมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องทนเดินฝ่าลมหนาวไปโรงเรียน
ฉันเห็นเพื่อน ๆ หลายคนได้ใส่เสื้อกันหนาวตัวใหม่สีสวย ๆ แม่บอกว่าพ่อของเขากลับมาจากทำงานรับจ้างตัดอ้อยที่จังหวัดชลบุรี และซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่มาฝาก เพราะเห็นว่าบ้านเราหนาวกว่าทางชลบุรีมาก
แม่บอกฉันว่า รอให้แม่ไปรับจ้างเกี่ยวข้าวที่หมู่บ้านใกล้เคียงเสียก่อน แม่จะพาไปซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่สีสวย ๆ เหมือนเพื่อน ๆ บ้างและคงจะอบอุ่นขึ้นเยอะทีเดียว
ฉันยังคิดว่า หากวันไหนแม่ไปรับจ้างเกี่ยวข้าว ฉันจะไปช่วยแม่อีกแรงหนึ่งจะได้เงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นพอที่จะซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่ให้กับน้อง ๆ อีกสองคนด้วย ฉันอดคิดถึงพ่อไม่ได้ พ่อก็คงจะหนาวเหมือนกัน ป่านนี้จะเป็นเช่นไรก็ไม่รู้ ฉันอยากให้เพื่อน ๆ รักและเคารพพ่อให้มาก ๆ เมื่อมีโอกาสก็ควรกระทำตนเป็นเด็กดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์ ประหยัด อดทนและอดออม ให้พ่อได้ชื่นชมเสียแต่วันนี้ก่อนที่จะไม่มีโอกาส
คำว่า”พ่อแห่งชาติ” ประชาชนทั้งประเทศทราบกันดีว่าในหลวงของเราเป็นศูนย์รวมจิตใจ ยากที่ใครจะปฏิเสธได้ดังคำกล่าวที่ว่า “พ่อหลวงของปวงชน หรือพ่อของแผ่นดิน” นอกจากในหลวงของเราจะทรงเป็นผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ตกทุกข์ได้ยากและช่วยพัฒนาชาติไทยในทุก ๆ ด้านให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบต่อไปแล้วนั้น ในหลวงของเรายังเปรียบเสมือนพ่อของลูก ๆ ทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทรงอบรมสั่งสอนประชาชนทุกเมื่อเชื่อวัน ให้ลูก ๆ ทุกคนเป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทนและอดออม เป็นผู้มีระเบียบวินัยและที่สำคัญต้องมีความจริงใจต่อกัน ช่วยเหลือสงเคราะห์กันและกัน รู้รักสามัคคีหลอดรวมกันไว้เป็นไทยสืบไป
ส่วนฉันในวันนี้ยังไม่มีโอกาสจะได้เห็นหน้าพ่อผู้ให้กำเนิดเลย อย่างมากฉันก็แสดงความรกและความคิดถึงพ่อด้วยตัวหนังสือที่ส่งถึงกัน ฉันไม่รู้สึกอายหรอกที่เพื่อน ๆ รู้ว่าพ่อของฉันอยู่ที่ไหน เพราะว่าทุก ๆ ปีเมื่อถึงวันที่ห้าธันวาคม หรือวันพ่อแห่งชาติ ฉันมีความหวังเสมอว่าใกล้วันที่จะได้พบกับพ่อผู้ให้กำเนิดฉัน ที่พ้นโทษจากการคุมขังด้วยการได้รับอภัยโทษจากในหลวงของเรา เพื่อน ๆ คงรู้ซินะว่าพ่อของฉันอยู่ที่ไหนและแม้จะรออีกนานสักกี่ปี ฉันก็จะรอพ่อจนถึงวันนั้น คือวันที่ฉันรอคอย วันที่พ่อได้รับอิสรภาพจากการอภัยโทษจากในหลวงเป็นครั้งสุดท้าย วันนั้นฉันจะมีทั้งพ่อ แม่ ลูกอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน เป็นครอบครัวที่มีความสุข “พ่อจ๋าฉันจะรอพ่อค่ะ”
สิ้นเสียงอ่านของสา คณะครูและนักเรียนปรบมือเสียงดังก้องไปทั้งห้องประชุม ทุกคนแสดงสีหน้าความเห็นใจและสงสารสาเป็นที่สุด ครูใหญ่มอบรางวัลกล่องใหญ่สีสวยสะดุดตาให้สา พร้อมกับกล่าวชมเชยความสามารถในการเขียนเรียงความ การกล้าแสดงออกและยอมรับสภาพความเป็นจริงของชีวิตโดยไม่น้อยเนื้อต่ำใจใด ๆ เลย จนทำให้เรียงความเรื่อง”พ่อของฉัน” ชนะเลิศการประกวดอย่างภาคภูมิใจสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนทั่วไป
สามองเพื่อนนักเรียนที่มาประชุมกันในงานประกวดเรียงความเนื่องในวันที่ห้าธันวามหาราช สาเหลือบไปเห็นแม่และน้องยืนอยู่หลังสุดของห้องประชุม สาตื่นเต้นมากเพราะแม่ไม่ได้บอกมาก่อนว่าจะมาร่วมงานในวันนี้และแปลกใจมากกว่านั้น สาเห็นชายคนหนึ่งที่ยืนอยู่ข้าง ๆ แม่และน้อง สารู้สึกว่าเหมือนเคยรู้จักกับชายคนนี้มานานแสนนานหัวใจของสาเต้นแรง และตื่นเต้นกับภาพที่ปรากฏต่อสายตาตนเอง สาจึงรีบเดินไว ๆ ไปหาแม่และน้อง ๆ ทันที สาโผกอดชายคนนั้นและพูดออกมาโดไม่ลังเลว่า “พ่อจ๋า”ใช่แล้ววันที่สารอคอยก็มาถึงจริง ๆ สายกมือไหว้ท่วมหัวแล้วมองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นในหลวงยิ้มให้ด้วยความเมตตา รอบ ๆ ในหลวงมีรัศมีของแสงสีเงินสีทองแตกกระจายสว่างไสวไปหมด พ่อได้รับอิสรภาพจากการถูกคุมขังในเรือนจำด้วยพระเมตตาจากในหลวงที่ทรงอภัยโทษให้นั่นเอง
พ่อกลับมาเป็นพ่อที่ดีของครอบครัว กลับตัวกลับใจเป็นคนดีและปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้เคยพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในตอนหนึ่งว่า”ผู้ที่มีความรู้น้อย แต่มีความซื่อสัตย์ ยังสามารถทำประโยชน์ได้ดีกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความซื่อสัตย์” พ่อประกอบอาชีพตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ท่าน พ่อขยันขันแข็งทำการเกษตรแบบพอเพียง ทำไร่นาสวนผสม ครอบครัวของสาจึงอยู่พร้อมพร้อมตาพ่อ แม่ ลูก พ้นจากความอดอยากยากจน อยู่อย่างมีความสุขด้วยพระบารมีในหลวงของเราตลอดมา
แบบทดสอบท้ายเรื่อง
คำชี้แจง สำหรับนักเรียนฝึกตอบคำถาม หลังจากอ่านจบเรื่องแล้ว
๑. ครอบครัวของสามีกี่คน
๒. ฐานะความเป็นอยู่ของสา เป็นอย่างไร
๓. เพราะเหตุใด พ่อจึงไม่ได้อยู่กับสาและครอบครัว
๔. สาเขียนเรียงความส่งเข้าประกวด ในวันสำคัญอะไร
๕. เพราะเหตุใด สาจึงเขียนเรียงความเรื่องพ่อของฉัน
๖. พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าอย่างไร
๗. ผลการประกวดเรียงความเป็นอย่างไร
๘. เพราะเหตุใดพ่อของสา จึงพ้นโทษก่อนเวลาที่กำหนด
๙. ความต้องการของสา คืออะไร
๑๐. พ่อของสาประกอบอาชีพอะไร หลังพ้นโทษ
เรื่องวินัยสร้างตน คนสร้างชาติ
เรื่องวินัยสร้างตน คนสร้างชาติ
ประเภทบทร้อยกรอง กลอนแปด
เราคนไทยใช่จะไร้ในระเบียบ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นไม่ฉ้อฉล
มีวินัยวัฒนธรรมค้ำชุมชน โดยทุกคนร่วมมือกันสรรสร้างไทย
มีวินัยในตนฝึกฝนเถิด ช่างประเสริฐพัฒนาพาแก้ไข
ต้องเคารพตามกฎที่ตั้งไว้ ต้องร่วมใจสร้างวินัยตนให้เป็น
นิยมความเป็นไทยในสิ่งนี้ ประหยัดดีมีสุขหมดทุกข์เข็ญ
รู้รักษาธรรมเนียมไทยไว้ให้เป็น อีกทั้งเห็นคุณค่าภาษาไทย
รู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ ระเบียบวินัยเป็นกรอบป้องกันได้
รู้สะอาดตรงเวลาเถิดผองไทย จะนำพาเราให้ไทยยืนยง
หากเกเรดื้อรั้นพลันอวดเก่ง ไม่ยำเกรงผู้ใหญ่ใฝ่ประสงค์
ไม่เคารพกฎแห่งหมู่ดูทะนง ไม่ช้าคงดับดิ้นสิ้นชีวา
เหมือนช้างป่าโขลงหนึ่งซึ่งอาศัย ในป่าใหญ่มีช้างพลายเป็นหัวหน้า
มีระเบียบเรียบร้อยค่อยพูดจา ทั้งนำหาอาหารประสานกัน
อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ทำหน้าที่ทุกทุกเชือกด้วยสุขสันต์
แต่ลูกช้างเชือกหนึ่งแสนดื้อรั้น หลบงานพลันเที่ยวเล่นเที่ยวเกเร
แม่อบรมสั่งสอนหาเชื่อฟังไม่ ซ้ำยังเถลไถลให้หันเห
ประพฤติตนจนนิสัยใจรวนเร เที่ยวฮาเฮเพื่อนระอาทั่วหน้ากัน
มีวันหนึ่งพลัดจากฝูงลื่นไถล ตกลงไปในบ่อร้องเสียงลั่น
รีบตะเกียกตะกายรวดเร็วพลัน พลางรำพันคิดถึงแม่ชะแง้มอง
ขึ้นจากบ่อไม่ได้คงตายแน่ โอ้ว่าแม่ลูกช้างเฝ้าคิดเศร้าหมอง
ครวญถึงแม่ฉันคงแย่น้ำตานอง ฉันไม่ตรองก่อนทำเฝ้าคร่ำครวญ
ฝ่ายโขลงช้างต่างหลบพายุฝน โกลาหลหลบใต้ต้นไทรด่วน
แม่เฝ้ามองร้องเรียกลูกสุดรัญจวน แม่ช้างครวญลูกอยู่ไหนไม่กลับมา
จึงวิ่งฝ่าพายุฝนร้อนรนจิต วิ่งไม่คิดชีวิตด้วยห่วงหา
บรรดาช้างต่างมองเศร้าอุรา แล้ววิ่งฝ่าสายฝนไปช่วยกัน
เมื่อมาเห็นสภาพของลูกช้าง ใจแม่ช่างปวดร้าวอย่างมหันต์
จ่าโขลงช้างเมื่อเห็นเป็นดังนั้น ยื่นเถาวัลย์พลันต้องคล้องลูกช้าง
แล้วใช้งวงดึงลูกช้างขึ้นมาได้ มีดีใจโผหาลูกลูบหัวหาง
ลูกช้างน้อยยอมรับผิดทุกทุกทาง ยกโทษบ้างสักครั้งทั้งเสียใจ
กราบขอโทษท่านทั้งหลายได้เดือดร้อน กราบวิงวอนสำนึกผิดกลับตัวใหม่
จะรักษาทั้งระเบียบทั้งวินัย สัญญาไว้ไม่ดื้อรั้นแต่นั้นมา
ทั้งหัวหน้าจ่าโขลงและเหล่าช้าง เป็นตัวอย่างที่ดีนี่แหละหนา
ผู้คนทั่วทั้งหลายย่อมศรัทธา ถึงแม้ว่าเป็นสัตว์ก็ชื่นชม
ขอเราเหล่านักเรียนจงตระหนัก ขอจงรักพวกพ้องจะสุขสม
ขอทุกคนที่อยู่ในสังคม จงนิยมของไทยใช้ของไทย
มีระเบียบวินัยดีย่อมมีสุข เพราะเป็นยุคก้าวหน้าส่งเสริมให้
เป็นคนดีมีระเบียบมีวินัย ย่อมสุขใจชีวิตเลิศประเสริฐคน
แบบทดสอบท้ายเรื่อง
คำชี้แจง นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
. ทำไมจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกไม้
. การไม่เคารพกฎจราจรจะเกิดผลเสียอย่างไร
. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่มีระเบียบวินัย
. สิ่งที่จะควบคุมมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยคือสิ่งใด
. เพราะเหตุใดโรงเรียนจึงต้องมีระเบียบวินัย
. เพราะเหตุใดเด็ก ๆ จึงต้องอยู่ในระเบียบวินัย
. ทำอย่างไรจึงจะอยู่กันอย่างมีความสุข
. ถ้านักเรียนเป็นลูกช้างควรปฏิบัติอย่างไร
. ทำไมฝูงช้างจึงต้องยกโทษให้ลูกช้าง
๑๐. นักเรียนอ่านเรื่องนี้แล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนภาษาไทย
ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑. กรุงเทพ ฯ:
คุรุสภาลาดพร้าว.
ประเภทบทร้อยกรอง กลอนแปด
เราคนไทยใช่จะไร้ในระเบียบ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นไม่ฉ้อฉล
มีวินัยวัฒนธรรมค้ำชุมชน โดยทุกคนร่วมมือกันสรรสร้างไทย
มีวินัยในตนฝึกฝนเถิด ช่างประเสริฐพัฒนาพาแก้ไข
ต้องเคารพตามกฎที่ตั้งไว้ ต้องร่วมใจสร้างวินัยตนให้เป็น
นิยมความเป็นไทยในสิ่งนี้ ประหยัดดีมีสุขหมดทุกข์เข็ญ
รู้รักษาธรรมเนียมไทยไว้ให้เป็น อีกทั้งเห็นคุณค่าภาษาไทย
รู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ ระเบียบวินัยเป็นกรอบป้องกันได้
รู้สะอาดตรงเวลาเถิดผองไทย จะนำพาเราให้ไทยยืนยง
หากเกเรดื้อรั้นพลันอวดเก่ง ไม่ยำเกรงผู้ใหญ่ใฝ่ประสงค์
ไม่เคารพกฎแห่งหมู่ดูทะนง ไม่ช้าคงดับดิ้นสิ้นชีวา
เหมือนช้างป่าโขลงหนึ่งซึ่งอาศัย ในป่าใหญ่มีช้างพลายเป็นหัวหน้า
มีระเบียบเรียบร้อยค่อยพูดจา ทั้งนำหาอาหารประสานกัน
อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ทำหน้าที่ทุกทุกเชือกด้วยสุขสันต์
แต่ลูกช้างเชือกหนึ่งแสนดื้อรั้น หลบงานพลันเที่ยวเล่นเที่ยวเกเร
แม่อบรมสั่งสอนหาเชื่อฟังไม่ ซ้ำยังเถลไถลให้หันเห
ประพฤติตนจนนิสัยใจรวนเร เที่ยวฮาเฮเพื่อนระอาทั่วหน้ากัน
มีวันหนึ่งพลัดจากฝูงลื่นไถล ตกลงไปในบ่อร้องเสียงลั่น
รีบตะเกียกตะกายรวดเร็วพลัน พลางรำพันคิดถึงแม่ชะแง้มอง
ขึ้นจากบ่อไม่ได้คงตายแน่ โอ้ว่าแม่ลูกช้างเฝ้าคิดเศร้าหมอง
ครวญถึงแม่ฉันคงแย่น้ำตานอง ฉันไม่ตรองก่อนทำเฝ้าคร่ำครวญ
ฝ่ายโขลงช้างต่างหลบพายุฝน โกลาหลหลบใต้ต้นไทรด่วน
แม่เฝ้ามองร้องเรียกลูกสุดรัญจวน แม่ช้างครวญลูกอยู่ไหนไม่กลับมา
จึงวิ่งฝ่าพายุฝนร้อนรนจิต วิ่งไม่คิดชีวิตด้วยห่วงหา
บรรดาช้างต่างมองเศร้าอุรา แล้ววิ่งฝ่าสายฝนไปช่วยกัน
เมื่อมาเห็นสภาพของลูกช้าง ใจแม่ช่างปวดร้าวอย่างมหันต์
จ่าโขลงช้างเมื่อเห็นเป็นดังนั้น ยื่นเถาวัลย์พลันต้องคล้องลูกช้าง
แล้วใช้งวงดึงลูกช้างขึ้นมาได้ มีดีใจโผหาลูกลูบหัวหาง
ลูกช้างน้อยยอมรับผิดทุกทุกทาง ยกโทษบ้างสักครั้งทั้งเสียใจ
กราบขอโทษท่านทั้งหลายได้เดือดร้อน กราบวิงวอนสำนึกผิดกลับตัวใหม่
จะรักษาทั้งระเบียบทั้งวินัย สัญญาไว้ไม่ดื้อรั้นแต่นั้นมา
ทั้งหัวหน้าจ่าโขลงและเหล่าช้าง เป็นตัวอย่างที่ดีนี่แหละหนา
ผู้คนทั่วทั้งหลายย่อมศรัทธา ถึงแม้ว่าเป็นสัตว์ก็ชื่นชม
ขอเราเหล่านักเรียนจงตระหนัก ขอจงรักพวกพ้องจะสุขสม
ขอทุกคนที่อยู่ในสังคม จงนิยมของไทยใช้ของไทย
มีระเบียบวินัยดีย่อมมีสุข เพราะเป็นยุคก้าวหน้าส่งเสริมให้
เป็นคนดีมีระเบียบมีวินัย ย่อมสุขใจชีวิตเลิศประเสริฐคน
แบบทดสอบท้ายเรื่อง
คำชี้แจง นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
. ทำไมจึงเปรียบมนุษย์เหมือนดอกไม้
. การไม่เคารพกฎจราจรจะเกิดผลเสียอย่างไร
. เพราะเหตุใดมนุษย์จึงไม่มีระเบียบวินัย
. สิ่งที่จะควบคุมมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยคือสิ่งใด
. เพราะเหตุใดโรงเรียนจึงต้องมีระเบียบวินัย
. เพราะเหตุใดเด็ก ๆ จึงต้องอยู่ในระเบียบวินัย
. ทำอย่างไรจึงจะอยู่กันอย่างมีความสุข
. ถ้านักเรียนเป็นลูกช้างควรปฏิบัติอย่างไร
. ทำไมฝูงช้างจึงต้องยกโทษให้ลูกช้าง
๑๐. นักเรียนอ่านเรื่องนี้แล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนภาษาไทย
ชุดพื้นฐานภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑. กรุงเทพ ฯ:
คุรุสภาลาดพร้าว.
โคนันทวิศาล
โคนันทวิศาล
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
พราหมณ์คนหนึ่งมีโคชื่อนันทวิศาล เป็นโคหนุ่มที่แข็งแรง มีกำลังมาก สามารถลากเกวียนได้เป็นร้อยเล่ม
อยู่มาวันหนึ่งเศรษฐีในหมู่บ้าน ประกาศท้าพนันลากเกวียนจำนวนหนึ่งร้อยเล่มเกวียนด้วยเงินห้าร้อยชั่ง พราหมณ์จึงนำโคนันวิศาลไปพนันลากเกวียนด้วย เมื่อพราหมณ์นำโคนันทวิศาลมาเทียมเกวียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงพูดกับโคนันทวิศาลด้วยเสียงอันดังว่า “นี่เจ้าโคขี้เกียจ เจ้าจงลากเกวียนทั้งหมดไปให้ได้นะ ไม่เช่นนั้นเจ้าจะเจ็บตัว” โคนันทวิศาลได้ยินพราหมณ์พูดเช่นนั้น จึงยืนนิ่งไม่ยอมลากเกวียนไป แม้ว่าพราหมณ์จะเฆียนตีอย่างไร ในที่สุดพราหมณ์ก็แพ้พนันต้องจ่ายเงินให้เศรษฐี ทำให้พราหมณ์เสียใจมาก ไม่ยอมกินไม่ยอมนอน ไม่เป็นอันทำอะไรทั้งสิ้นเสียดายเงินที่เสียไป โคนันทวิศาลเห็นดังนั้นจึงเกิดความสงสารพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของมาก จึงพูดกับพราหมณ์ว่าให้ไปท้าพนันลากเกวียนกับเศรษฐีใหม่ด้วยเงินหนึ่งพันชั่งแล้วให้พราหมณ์พูดกับตนด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ พราหมณ์ได้ยินดีใจมาก รีบไปท้าพนันลากเกวียนกับเศรษฐีใหม่ พราหมณ์นำโคนันทวิศาลมาเทียมเกวียนหนึ่งร้อยเล่ม เมื่อพราหมณ์เทียมเกวียนเสร็จแล้ว จึงพูดกับโคนันทวิศาลด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานว่า “พ่อมหาจำเริญ พ่อจงลากเกวียนทั้งหนึ่งร้อยเล่มเกวียนนี้ไปให้ข้าหน่อยนะพ่อนะ” โคนันทวิศาลได้ยินพราหมณ์พูดไพเราะเช่นนั้นก็ลากเกวียนไปถึงที่หมายได้สำเร็จ พราหมณ์ดีใจมากได้เงินพนันหนึ่งพันชั่ง ตั้งแต่นั้นมาพราหมณ์ก็พูดจาไพเราะกับโคนันทวิศาลและคนอื่น ๆ
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
- การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป
- ตรงกับสำนวนที่ว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว หรือปลาหมอตายเพราะปาก”
คำถามท้ายบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. พราหมณ์มีโคหนุ่ม ชื่อว่าอะไร
2. เพราะเหตุใดโคนันทวิศาล จึงไม่ยอมลากเกวียนไปให้พราหมณ์
3. ทำไมพราหมณ์จึงชนะพนันการแข่งขันลากเกวียน
4. นักเรียนอ่านนิทานเรื่องนี้แล้ว ให้ข้อคิดอย่างไร
5. การกระทำของพราหมณ์ตรงกับสุภาษิตสำนวนไทย ว่าอย่างไร
***********************************
บรรณานุกรม
กุสุมา รักษมณี. (๒๕๓๘) นิทานวานบอก. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ :
พับลิคบิสเนสพริ้นท์.
สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔). นิทานพื้นบ้านอีสานและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
โสฬส แสงศรี. (ม.ป.ป.) นิทาน ๕ นาที. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพิ์นานาบุ๊ค.
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
พราหมณ์คนหนึ่งมีโคชื่อนันทวิศาล เป็นโคหนุ่มที่แข็งแรง มีกำลังมาก สามารถลากเกวียนได้เป็นร้อยเล่ม
อยู่มาวันหนึ่งเศรษฐีในหมู่บ้าน ประกาศท้าพนันลากเกวียนจำนวนหนึ่งร้อยเล่มเกวียนด้วยเงินห้าร้อยชั่ง พราหมณ์จึงนำโคนันวิศาลไปพนันลากเกวียนด้วย เมื่อพราหมณ์นำโคนันทวิศาลมาเทียมเกวียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงพูดกับโคนันทวิศาลด้วยเสียงอันดังว่า “นี่เจ้าโคขี้เกียจ เจ้าจงลากเกวียนทั้งหมดไปให้ได้นะ ไม่เช่นนั้นเจ้าจะเจ็บตัว” โคนันทวิศาลได้ยินพราหมณ์พูดเช่นนั้น จึงยืนนิ่งไม่ยอมลากเกวียนไป แม้ว่าพราหมณ์จะเฆียนตีอย่างไร ในที่สุดพราหมณ์ก็แพ้พนันต้องจ่ายเงินให้เศรษฐี ทำให้พราหมณ์เสียใจมาก ไม่ยอมกินไม่ยอมนอน ไม่เป็นอันทำอะไรทั้งสิ้นเสียดายเงินที่เสียไป โคนันทวิศาลเห็นดังนั้นจึงเกิดความสงสารพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของมาก จึงพูดกับพราหมณ์ว่าให้ไปท้าพนันลากเกวียนกับเศรษฐีใหม่ด้วยเงินหนึ่งพันชั่งแล้วให้พราหมณ์พูดกับตนด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ พราหมณ์ได้ยินดีใจมาก รีบไปท้าพนันลากเกวียนกับเศรษฐีใหม่ พราหมณ์นำโคนันทวิศาลมาเทียมเกวียนหนึ่งร้อยเล่ม เมื่อพราหมณ์เทียมเกวียนเสร็จแล้ว จึงพูดกับโคนันทวิศาลด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานว่า “พ่อมหาจำเริญ พ่อจงลากเกวียนทั้งหนึ่งร้อยเล่มเกวียนนี้ไปให้ข้าหน่อยนะพ่อนะ” โคนันทวิศาลได้ยินพราหมณ์พูดไพเราะเช่นนั้นก็ลากเกวียนไปถึงที่หมายได้สำเร็จ พราหมณ์ดีใจมากได้เงินพนันหนึ่งพันชั่ง ตั้งแต่นั้นมาพราหมณ์ก็พูดจาไพเราะกับโคนันทวิศาลและคนอื่น ๆ
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
- การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน ย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป
- ตรงกับสำนวนที่ว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว หรือปลาหมอตายเพราะปาก”
คำถามท้ายบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. พราหมณ์มีโคหนุ่ม ชื่อว่าอะไร
2. เพราะเหตุใดโคนันทวิศาล จึงไม่ยอมลากเกวียนไปให้พราหมณ์
3. ทำไมพราหมณ์จึงชนะพนันการแข่งขันลากเกวียน
4. นักเรียนอ่านนิทานเรื่องนี้แล้ว ให้ข้อคิดอย่างไร
5. การกระทำของพราหมณ์ตรงกับสุภาษิตสำนวนไทย ว่าอย่างไร
***********************************
บรรณานุกรม
กุสุมา รักษมณี. (๒๕๓๘) นิทานวานบอก. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ :
พับลิคบิสเนสพริ้นท์.
สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔). นิทานพื้นบ้านอีสานและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
โสฬส แสงศรี. (ม.ป.ป.) นิทาน ๕ นาที. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพิ์นานาบุ๊ค.
ทำไมอีกาจึงเกลียดนกฮูก
ทำไมอีกาจึงเกลียดนกฮูก
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พวกนกต่าง ๆ จะเป็นเพื่อนรักกันมากไปไหนก็ไปกันเป็นฝูง มีอะไรก็แบ่งกันกิน แม้แต่การทำรังก็ช่วยกันทำไม่เคยทะเลาะกันเลย
อยู่มาวันหนึ่ง อีกากับนกฮูกซึ่งต่างก็เป็นเพื่อนรักกันมากทั้งสอง
ตกลงกันว่า จะเปลี่ยนกันแต่งขนให้มีลวดลายสวยงาน กันคนละทีอีกาเป็นสัตว์ที่ขยันละเอียด จึงแต่งให้นกฮูกมีขนคิ้วหนาตาโต มีขนลายสลับกันจนทั่วทั้งตัว ซึ่งก็ใช้เวลาหลายวันจึงเสร็จ
พอถึงคราวนกฮูกซึ่งต้องแต่งให้อีกาบ้าง ในขณะที่ทั้งสองบินคู่กันมา เพื่อจะไปยังสถานที่แต่งตัว ได้ผ่านบ้านคนหลังหนึ่งกำลังย้อมสีผ้าอยู่ นกฮูกซึ่งเป็นสัตว์ขี้เกียจ ได้โอกาส จึงผลักอีกาตกลงไปในถังย้อมผ้าสีดำ อีกาจึงมีขนสีดำตลอดไปทั้งตัว อีกาโกรธมากไล่จิกนกฮูกและประกาศว่าจะไม่เป็นเพื่อนกัน เจอที่ไหนจะไล่จิกไล่ตีให้ตาย นกฮูกจึงต้องนอนอยู่ตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนกาจึงมีขนสีดำ มาจนถึงทุกวันนี้.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
-การไม่รักษาคำพูดที่สัญญากันไว้ ก็จะไม่มีใครคบเป็นเพื่อนอีกต่อไป
-การเป็นผู้ละเอียดและขยัน ย่อมทำงานได้สำเร็จด้วยดี
-ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมทำให้เดือดร้อนในภายหลัง
ที่มา: สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔). นิทานพื้นบ้านและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร: ธนรัชการพิมพ์.
คำถามประจำบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.อีกา มีนิสัยอย่างไร
๒. นกฮูกมีนิสัยอย่างไร
๓. เพราะเหตุใด อีกาจึงมีขนสีดำ
๔. เพราะเหตุใดนกฮูก จึงมีขนสีสวยงาม
๕. ทำไมอีกา จึงเป็นศัตรูกับนกฮูก
๖. นิทานเรื่องนี้ ให้ข้อคิดอย่างไร
*******************************************
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พวกนกต่าง ๆ จะเป็นเพื่อนรักกันมากไปไหนก็ไปกันเป็นฝูง มีอะไรก็แบ่งกันกิน แม้แต่การทำรังก็ช่วยกันทำไม่เคยทะเลาะกันเลย
อยู่มาวันหนึ่ง อีกากับนกฮูกซึ่งต่างก็เป็นเพื่อนรักกันมากทั้งสอง
ตกลงกันว่า จะเปลี่ยนกันแต่งขนให้มีลวดลายสวยงาน กันคนละทีอีกาเป็นสัตว์ที่ขยันละเอียด จึงแต่งให้นกฮูกมีขนคิ้วหนาตาโต มีขนลายสลับกันจนทั่วทั้งตัว ซึ่งก็ใช้เวลาหลายวันจึงเสร็จ
พอถึงคราวนกฮูกซึ่งต้องแต่งให้อีกาบ้าง ในขณะที่ทั้งสองบินคู่กันมา เพื่อจะไปยังสถานที่แต่งตัว ได้ผ่านบ้านคนหลังหนึ่งกำลังย้อมสีผ้าอยู่ นกฮูกซึ่งเป็นสัตว์ขี้เกียจ ได้โอกาส จึงผลักอีกาตกลงไปในถังย้อมผ้าสีดำ อีกาจึงมีขนสีดำตลอดไปทั้งตัว อีกาโกรธมากไล่จิกนกฮูกและประกาศว่าจะไม่เป็นเพื่อนกัน เจอที่ไหนจะไล่จิกไล่ตีให้ตาย นกฮูกจึงต้องนอนอยู่ตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนกาจึงมีขนสีดำ มาจนถึงทุกวันนี้.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
-การไม่รักษาคำพูดที่สัญญากันไว้ ก็จะไม่มีใครคบเป็นเพื่อนอีกต่อไป
-การเป็นผู้ละเอียดและขยัน ย่อมทำงานได้สำเร็จด้วยดี
-ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมทำให้เดือดร้อนในภายหลัง
ที่มา: สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔). นิทานพื้นบ้านและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร: ธนรัชการพิมพ์.
คำถามประจำบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.อีกา มีนิสัยอย่างไร
๒. นกฮูกมีนิสัยอย่างไร
๓. เพราะเหตุใด อีกาจึงมีขนสีดำ
๔. เพราะเหตุใดนกฮูก จึงมีขนสีสวยงาม
๕. ทำไมอีกา จึงเป็นศัตรูกับนกฮูก
๖. นิทานเรื่องนี้ ให้ข้อคิดอย่างไร
*******************************************
เหตุที่ช้างตาเล็ก เสือตัวลาย
เหตุที่ช้างตาเล็ก เสือตัวลาย
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีชาวนาคนหนึ่ง ชื่อว่านายมี แกมีช้างอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งแกได้ฝึกฝนช้างตัวนี้จนเชื่องสามารถอยู่ร่วมกันและทำงานให้แกได้หลาย ๆ อย่าง
อยู่มาวันหนึ่ง หลังจากนายมีใช้ให้ช้างทำงานเสร็จแล้ว แกก็นำช้างไปล่ามไว้ใต้ต้นไม้เพื่อให้กินใบไม้เป็นอาหารตามลำพัง ขณะที่ช้างกำลังกินใบไม้อยู่นั่นเอง มีเสือตัวหนึ่งเดินผ่านมา เห็นช้างถูกล่ามไว้ มีความสงสัยทำไม ช้างตัวใหญ่จึงต้องถูกล่ามไว้ ช้างเล่าให้เสือฟังว่า คนเป็นผู้จับตนมาล่ามไว้ เสือตอว่าไปยอมคนทำไมตัวเล็ก ๆ เท่านั้น ช้างบอกกับเสือว่า คนเขามีปัญญาดี เขาจึงจับข้ามาล่ามได้
เสืออยากเห็นคนเหลือเกิน ที่ช้างว่าคนมีปัญญาดีนั้น มันเป็นอย่าไร ช้างให้เสือรอหน่อย เดี๋ยวคนก็มาให้เห็นเอง เมื่อนายมีกลับมาเพื่อเปลี่ยนที่ให้ช้างใหม่ก็ได้พบกับเสือ เสือถามว่าไหนช้างบอกว่าเจ้ามีปัญญาดี เป็นอย่างไรเอามาให้ข้าดูหน่อย ไม่อย่างนั้นจะกินเจ้าเป็นอาหาร นายมีตกใจมาก แต่ก็พูดด้วยใจดีว่า ข้าไม่ได้เอามาด้วย ปัญญาดีอยู่ที่บ้าน เสือบอกว่าจะรออยู่ที่นี่จะไม่หนีไปไหน ให้นายมีไปเอามาให้ดูหน่อย นายมีทำทีว่าไม่เชื่อหรอกว่าเจ้าจะรอข้าอยู่ที่นี่ เสือว่าแล้วทำอย่างไรเจ้าจึงจะเชื่อว่าข้าจะไม่หนีไปไหน นายมีว่าให้มัดขาไว้ไม่ให้หนี เสือตกลง นายมีจึงมัดขาเสือเข้าด้วยกันทั้งสีขา แล้งลงมือเฆี่ยนตีอย่างเมามัน เพื่อให้เสือได้รู้ฤทธิ์ของคนว่าเป็นอย่างไร นายมีเฆี่ยนเสือจนแตกยับและเป็นแผลพุพองไปทั้งตัว เสือจึงมีตัวลาย จนทุกวันนี้ ส่วนช้างหัวเราะเยาะเย้ยเสือจนตาเล็ก ตราบเท่าทุกวันนี้เช่นกัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
-เมื่อถึงคราวคับขัน หากมีสติ ก็จะเกิดปัญญาแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายได้
- คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด
ที่มา: สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔).นิทานพื้นบ้านและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร: ธนรัชการพิมพ์.
คำถามประจำบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
. ช้างมีประโยชน์ ทำอะไรได้บ้าง
. คนมีปัญญาดี เป็นอย่างไร
. เพราะเหตุใด เสือจึงตัวลาย
. ทำไมช้างจึงตาเล็ก
. นิทานเรื่องนี้ ให้ข้อคิดอย่างไร
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีชาวนาคนหนึ่ง ชื่อว่านายมี แกมีช้างอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งแกได้ฝึกฝนช้างตัวนี้จนเชื่องสามารถอยู่ร่วมกันและทำงานให้แกได้หลาย ๆ อย่าง
อยู่มาวันหนึ่ง หลังจากนายมีใช้ให้ช้างทำงานเสร็จแล้ว แกก็นำช้างไปล่ามไว้ใต้ต้นไม้เพื่อให้กินใบไม้เป็นอาหารตามลำพัง ขณะที่ช้างกำลังกินใบไม้อยู่นั่นเอง มีเสือตัวหนึ่งเดินผ่านมา เห็นช้างถูกล่ามไว้ มีความสงสัยทำไม ช้างตัวใหญ่จึงต้องถูกล่ามไว้ ช้างเล่าให้เสือฟังว่า คนเป็นผู้จับตนมาล่ามไว้ เสือตอว่าไปยอมคนทำไมตัวเล็ก ๆ เท่านั้น ช้างบอกกับเสือว่า คนเขามีปัญญาดี เขาจึงจับข้ามาล่ามได้
เสืออยากเห็นคนเหลือเกิน ที่ช้างว่าคนมีปัญญาดีนั้น มันเป็นอย่าไร ช้างให้เสือรอหน่อย เดี๋ยวคนก็มาให้เห็นเอง เมื่อนายมีกลับมาเพื่อเปลี่ยนที่ให้ช้างใหม่ก็ได้พบกับเสือ เสือถามว่าไหนช้างบอกว่าเจ้ามีปัญญาดี เป็นอย่างไรเอามาให้ข้าดูหน่อย ไม่อย่างนั้นจะกินเจ้าเป็นอาหาร นายมีตกใจมาก แต่ก็พูดด้วยใจดีว่า ข้าไม่ได้เอามาด้วย ปัญญาดีอยู่ที่บ้าน เสือบอกว่าจะรออยู่ที่นี่จะไม่หนีไปไหน ให้นายมีไปเอามาให้ดูหน่อย นายมีทำทีว่าไม่เชื่อหรอกว่าเจ้าจะรอข้าอยู่ที่นี่ เสือว่าแล้วทำอย่างไรเจ้าจึงจะเชื่อว่าข้าจะไม่หนีไปไหน นายมีว่าให้มัดขาไว้ไม่ให้หนี เสือตกลง นายมีจึงมัดขาเสือเข้าด้วยกันทั้งสีขา แล้งลงมือเฆี่ยนตีอย่างเมามัน เพื่อให้เสือได้รู้ฤทธิ์ของคนว่าเป็นอย่างไร นายมีเฆี่ยนเสือจนแตกยับและเป็นแผลพุพองไปทั้งตัว เสือจึงมีตัวลาย จนทุกวันนี้ ส่วนช้างหัวเราะเยาะเย้ยเสือจนตาเล็ก ตราบเท่าทุกวันนี้เช่นกัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
-เมื่อถึงคราวคับขัน หากมีสติ ก็จะเกิดปัญญาแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายได้
- คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด
ที่มา: สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔).นิทานพื้นบ้านและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร: ธนรัชการพิมพ์.
คำถามประจำบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
. ช้างมีประโยชน์ ทำอะไรได้บ้าง
. คนมีปัญญาดี เป็นอย่างไร
. เพราะเหตุใด เสือจึงตัวลาย
. ทำไมช้างจึงตาเล็ก
. นิทานเรื่องนี้ ให้ข้อคิดอย่างไร
ทำไมสัตร์ถึงมีพิษ
ทำไมสัตว์จึงมีพิษ
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว บรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่มีพิษมากที่สุดคืองูเหลือมเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ พิษร้ายแรงเมื่อฉกคนหรือสัตว์จะต้องตายทันที งูเหลือมจึงได้ชื่อว่าพญางูยักษ์ งูใหญ่ เป็นหัวหน้างูและเป็นเจ้าป่าอีกด้วยในสมัยนั้น
อยู่มาวันหนึ่งงูเหลือบอยากลองดูว่าตนเองยังมีพิษร้ายแรงอยู่หรือเปล่า จึงเลื้อยออกไปหากิน เห็นชาวนาคนหนึ่งกำลังก้มหน้าก้มตาทำนาอยู่ไม่ทันรู้ตัวงูเหลือบเลื้อยเข้ามาข้างหลัง ได้ฉกชาวนาจนล้มลงสิ้นใจตายทันที แต่ในถุงเสื้อของชาวนามีปูอยู่ข้างใน งูเหลือมเข้าใจว่าพิษของตนเองฆ่าคนไม่ตาย แปลกใจมากที่พิษของตนเองไม่ร้ายแรงอีกแล้ว ไม่สมควรเป็นพญางูเจ้าป่าต่อไปอีกแล้ว
จึงเที่ยวประกาศออกไปว่า ข้าไม่ขอเป็นพญางูเจ้าป่าอีกต่อไปแล้ว โดยข้าจะคายพิษออกใครอยากได้ให้เป็นเอาหน้าถ้ำในเช้าวันพรุ่งนี้ สัตว์ต่าง ๆ ได้ฟังต่างก็อยากได้พิษต่างทยอยมาทุกสารทิศ แย่งกันเข้าคิว ใครไวกว่าก็ได้อยู่แถวหน้า
พอได้เวลารุ่งเช้างูเหลือบก็คายพิษออกจนหมด เจ้างูจงอาจชูคอสูงกว่าใคร ๆ ได้พิษสมใจก่อนใครหนีเข้าป่าไป งูสามเหลี่ยม งูหางกระดิ่ง งูเขียว ทยอยกันมาได้พิษอย่างมากมาย ถึงคิวงูเห่าโลภมาก ก้มลงดูดเอาพิษจนล้นคอออกมา เวลางูเห่าจะฉกใครจึงเห็นพิษพองขึ้นที่คอจนทุกวันนี้
จนถึงคิวปลาดุกพิษก็เหลือน้อยเต็มที ปลาดุกใช้เงี่ยงแตะเอาทีละข้างก็ลงน้ำหนีไป ฝ่ายเจ้าตัวต่อและผึ้งแมลงภู่เข้ามาแย่งกัน แซงคิวกันอุดตลุดตัวต่อตัวใหญ่กว่าจึงได้พิษไปมากผึ้งและแมลงภู่
ถึงคิวแมลงป่อง ใช้หางจุ่มเอาพิษด้วยความดีใจชูหางขึ้นอวดเพื่อน ๆ จนเท่าทุกวันนี้ จนมาถึงมดแดงตัวเล็กกว่าเพื่อน ยืนเท้าสะเอวรอนานแสนนานใช้ก้นจิ้มพิษที่เหลือเพียงนิดเดียวและเป็นคนสุดท้าย เหตุที่มดแดงยืนเท้าเอวนานเอวจึงกิ่วเท่าทุกวันนี้
ฝ่ายงูปลา งูสิง มัวหากินกบ กินปลา กินเขียด ไปเอาพาไม่ทัน จึงไม่มีพากับเขาตราบเท่าทุกวันนี้เช่นกัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
-ไม่ควรปักใจเชื่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งโดยไม่พิจารณา ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ย่อมทำให้เกิดความเสียหายและเสียอำนาจที่ตนมีอยู่ในที่สุด
ที่มา: สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔). นิทานพื้นบ้านและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร: ธนรัชการพิมพ์.
คำถามประจำบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
. สัตว์ชนิดใดมีพิษมากที่สุด
. เหตุใดงูเหลือมจึงคายพิษให้กับสัตว์ต่าง ๆ
. เหตุใดมดแดง จึงเอวกิ่ว
. สัตว์ชนิดใด ไม่ได้รับพิษจากงูเหลือม
. นิทานเรื่องนี้ ให้ข้อคิดอย่างไร
************************************************
เรื่องโดย พิมพา ฤทธิรณ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว บรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่มีพิษมากที่สุดคืองูเหลือมเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ พิษร้ายแรงเมื่อฉกคนหรือสัตว์จะต้องตายทันที งูเหลือมจึงได้ชื่อว่าพญางูยักษ์ งูใหญ่ เป็นหัวหน้างูและเป็นเจ้าป่าอีกด้วยในสมัยนั้น
อยู่มาวันหนึ่งงูเหลือบอยากลองดูว่าตนเองยังมีพิษร้ายแรงอยู่หรือเปล่า จึงเลื้อยออกไปหากิน เห็นชาวนาคนหนึ่งกำลังก้มหน้าก้มตาทำนาอยู่ไม่ทันรู้ตัวงูเหลือบเลื้อยเข้ามาข้างหลัง ได้ฉกชาวนาจนล้มลงสิ้นใจตายทันที แต่ในถุงเสื้อของชาวนามีปูอยู่ข้างใน งูเหลือมเข้าใจว่าพิษของตนเองฆ่าคนไม่ตาย แปลกใจมากที่พิษของตนเองไม่ร้ายแรงอีกแล้ว ไม่สมควรเป็นพญางูเจ้าป่าต่อไปอีกแล้ว
จึงเที่ยวประกาศออกไปว่า ข้าไม่ขอเป็นพญางูเจ้าป่าอีกต่อไปแล้ว โดยข้าจะคายพิษออกใครอยากได้ให้เป็นเอาหน้าถ้ำในเช้าวันพรุ่งนี้ สัตว์ต่าง ๆ ได้ฟังต่างก็อยากได้พิษต่างทยอยมาทุกสารทิศ แย่งกันเข้าคิว ใครไวกว่าก็ได้อยู่แถวหน้า
พอได้เวลารุ่งเช้างูเหลือบก็คายพิษออกจนหมด เจ้างูจงอาจชูคอสูงกว่าใคร ๆ ได้พิษสมใจก่อนใครหนีเข้าป่าไป งูสามเหลี่ยม งูหางกระดิ่ง งูเขียว ทยอยกันมาได้พิษอย่างมากมาย ถึงคิวงูเห่าโลภมาก ก้มลงดูดเอาพิษจนล้นคอออกมา เวลางูเห่าจะฉกใครจึงเห็นพิษพองขึ้นที่คอจนทุกวันนี้
จนถึงคิวปลาดุกพิษก็เหลือน้อยเต็มที ปลาดุกใช้เงี่ยงแตะเอาทีละข้างก็ลงน้ำหนีไป ฝ่ายเจ้าตัวต่อและผึ้งแมลงภู่เข้ามาแย่งกัน แซงคิวกันอุดตลุดตัวต่อตัวใหญ่กว่าจึงได้พิษไปมากผึ้งและแมลงภู่
ถึงคิวแมลงป่อง ใช้หางจุ่มเอาพิษด้วยความดีใจชูหางขึ้นอวดเพื่อน ๆ จนเท่าทุกวันนี้ จนมาถึงมดแดงตัวเล็กกว่าเพื่อน ยืนเท้าสะเอวรอนานแสนนานใช้ก้นจิ้มพิษที่เหลือเพียงนิดเดียวและเป็นคนสุดท้าย เหตุที่มดแดงยืนเท้าเอวนานเอวจึงกิ่วเท่าทุกวันนี้
ฝ่ายงูปลา งูสิง มัวหากินกบ กินปลา กินเขียด ไปเอาพาไม่ทัน จึงไม่มีพากับเขาตราบเท่าทุกวันนี้เช่นกัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
-ไม่ควรปักใจเชื่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งโดยไม่พิจารณา ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ย่อมทำให้เกิดความเสียหายและเสียอำนาจที่ตนมีอยู่ในที่สุด
ที่มา: สำลี รักสุทธี. (๒๕๔๔). นิทานพื้นบ้านและตำนานการก่อตั้งจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร: ธนรัชการพิมพ์.
คำถามประจำบท
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
. สัตว์ชนิดใดมีพิษมากที่สุด
. เหตุใดงูเหลือมจึงคายพิษให้กับสัตว์ต่าง ๆ
. เหตุใดมดแดง จึงเอวกิ่ว
. สัตว์ชนิดใด ไม่ได้รับพิษจากงูเหลือม
. นิทานเรื่องนี้ ให้ข้อคิดอย่างไร
************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)